ที่มาของข้อมูลอุบัติเหตุบนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561 ถูกรวบรวมมาจาก
1 ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (RSC) http://www.thairsc.com/
- เป็นข้อมูลจากการแจ้งเคลมประกัน
- มีข้อมูลครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย
- บันทึกจุดเกิดเหตุทั้งบนถนนใหญ่และถนนรอง
- มีการระบุเคสที่มีการเสียชีวิต
2 มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (ITIC) https://www.iticfoundation.org/
- เป็นข้อมูลจากการรวบรวมจาก Social Media และ ฐานข้อมูล RSC
- มีข้อมูลเฉพาะในกรุงเทพมหานคร
- เน้นเหตุที่เกิดบนถนนใหญ่
- ไม่มีการระบุเคสที่มีการเสียชีวิต
3 สถาบันควบคุมโรคเขตเมือง http://iudc.ddc.moph.go.th/th/
- เป็นข้อมูลผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- ถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้
- ช่วงเวลา พ.ศ. 2559 - 2561
- จากข้อมูลทั้งหมด 4,179 จุด มีเพียง 1,589 จุดเท่านั้นที่มีพิกัด
ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล
- ข้อมูลที่จากแหล่งข้อมูลทั้งสองแหล่งยังไม่ครบถ้วน โดยข้อมูลจาก RSC เน้นไปที่การแจ้งเคลมประกันจาก จกย และข้อมูลจาก ITIC เป็นข้อมูลที่เกิดเฉพาะบนถนนใหญ่ ดังนั้นจึงอาจมีอุบัติเหตุอีกหลายครั้งที่ไม่ได้ปรากฏในฐานข้อมูล
- ลักษณะการเก็บข้อมูลยังเป็นคำบรรยายซึ่งขึ้นอยู่กับผู้บันทึก ในบางเหตุมีคำอธิบายลักษณะของอุบัติเหตุ ไม่ครบถ้วน จนไม่สามารถจำแนกยานหนะที่เกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง
- พิกัดทางภูมิศาสตร์มีการคลาดเคลื่อนไปจากตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุจริง จนส่งผลให้บางพื้นที่มีจำนวน อุบัติเหตุหนาแน่นเกิดกว่าความเป็นจริง
- ยกตัวอย่างจากข้อมูลของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ บริษัทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พบว่า ซอยรัชดาภิเษก 36 (ซอยเสือใหญ่อุทิศ) มีจุดอุบัติเหตุหนาแน่นอยู่ ณ จุดหนึ่ง แต่เมื่อลองตรวจสอบและสำรวจพื้นที่แล้วพบว่าพิกัดของอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากค่าตั้งต้น (Default) ของอุบัติเหตุเมื่อเกิดในพื้นที่ดังกล่าว นั้นหมายความว่าแท้จริงแล้วอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นโดยกระจายตัวตามแนวถนนในซอยรัชดาภิเษก 36
นอกเหนือจากจุดดังกล่าวแล้ว ยังมีจุดเหล่านี้กระจายตัวอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครอีกด้วย